
อุตสาหกรรมการแพทย์ของโลกมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เทคโนโลยี ซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการบริการสุขภาพที่มากขึ้น เนื่องด้วยประเทศก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ กระแสการส่งเสริมสุขภาพรักษาสุขภาพ การพัฒนาระบบสาธารณสุข รวมทั้งความก้าวหน้าเทคโนโลยีด้านสุขภาพ และโควิด-19ตลาดเครื่องมือแพทย์จากทั่วโลกที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วกว่าร้อยละ 6.4 ต่อปี ยิ่งพอก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำให้การรักษาและเครื่องมือการแพทย์ได้รับการพัฒนาผ่านกระบวนการ Digital transformation อย่างต่อเนื่อง จนเกิดเป็น Medical Technology หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “MedTech” ที่บุคลากรทางการแพทย์และคนที่สนใจสามารถนำความรู้ทางเทคโนโลยีมาใช้ต่อยอดอาชีพทางการแพทย์ได้อย่างไม่หยุดยั้งอนาคตจะเห็นเทคโนโลยีการแพทย์ขั้นสูงศ.นพ.กุลวี เนตรมณี ผู้อำนวยการสถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ และผู้อำนวยการสถาบันวิจัยหัวใจเต้นผิดจังหวัด แปซิฟิกริม ลอสแองเจลีส สหรัฐอเมริกา กล่าวว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ หรือ Digital Health เป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการแพทย์สำคัญ โดยมุ่งเน้นที่การวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ เช่น การรวบรวมฐานข้อมูลผู้ป่วยขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อประโยชน์ในการทำวิจัย, ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ระบบการปรึกษาแพทย์ทางไกล (Telemedicine) และการสั่งยาผ่านระบบออนไลน์รวมถึงนวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยหาความผิดปกติหรือตรวจจับโรคระยะเริ่มต้น การตรวจสอบสัญญาณชีพจากระยะไกล การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจากระยะไกล แอปพลิเคชันในการดูแลสุขภาพ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถจัดการดูแลสุขภาพตนเองได้ในเบื้องต้นเทคโนโลยีการแพทย์ขั้นสูง
เพิ่มการรักษารูปแบบใหม่ในอนาคต จะเริ่มเห็นเทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น
เทคโนโลยี ที่ใช้ประโยชน์จากการวิเคราะห์สุขภาพในเชิงป้องกันจากการถอดรหัสพันธุกรรม ถือเป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีคุณค่าและสร้างสรรค์มาก เพราะสามารถคาดการณ์โรคที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งนับวันก็จะมีความแม่นยำมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้แพทย์และผู้ป่วยได้วางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและแนวทางการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งเป็นการช่วยชีวิตผู้ป่วยได้นอกจากนี้ เทคโนโลยียังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงรายละเอียดและข้อมูลที่สำคัญได้อย่างตรงไปตรงมา จากที่ใดก็ได้บนโลกตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจในการรักษามากขึ้น“การทรานส์ฟอร์มทางการแพทย์ในอนาคตจะเกิดขึ้นได้จากการนำเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมมาใช้อย่างต่อเนื่อง ต้องหมั่นฝึกฝนเพื่อหาแนวทางในการรักษาใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการรักษาดีขึ้นในทุกๆ วัน รวมถึงนำความรู้เหล่านี้ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการวิจัยและมีผลลัพธ์ทางคลินิกที่เป็นที่น่าพอใจมาต่อยอดเป็นรูปธรรม มีการนำมาใช้งานได้จริง และนำมาถ่ายทอดส่งต่อให้กับแพทย์ทั้งไทยและแพทย์จากนานาประเทศเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในวงกว้างให้ได้มากที่สุด”เทคโนโลยีการแพทย์ที่ได้รับความนิยมAI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ถูกวางเป้าหมายให้เป็นตัวช่วยในการเก็บข้อมูลและให้ข้อมูลต่าง ๆ ของทั้งผู้ป่วย และข้อมูลทางการรักษาแก่บุคลากรทางการแพทย์ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และ AI ยังถูกเอามาใช้เพื่อให้วินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้อง ในระยะเวลาที่สั้นกว่าเดิมอีกด้วย ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์ในแง่ที่เข้ามาช่วยจัดทำระบบการเก็บข้อมูลทางการแพทย์เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นส่วนตั้งต้นให้กับ EHRs เทคโนโลยี AI ที่กล่าวไปแล้วในส่วนของการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค การรักษา การเก็บข้อมูลสุขภาพผ่าน smart health device ต่าง ๆ และที่สำคัญก็คือการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลของผู้ป่วยที่ถูกนำไปอัปโหลดขึ้นบน cloud service ทั้งหลาย3D Printing ถูกนำมาใช้ในวงการแพทย์มาสักพักหนึ่งแล้ว มีการคาดการณ์ว่า ธุรกิจการพิมพ์ 3 มิติเพื่อการแพทย์จะมีมูลค่าสูงถึง 6 พันล้านเหรียญภายในปี 2025
แนะนำเทคโนโลยี อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : อาชีพรุ่ง-ร่วง ปี 2566 สัญญาณต้องปรับตัว อย่าติดกับดักความสำเร็จในอดีต