
ฮาเยอนี โซซา เคยเผชิญความลำบากในการขึ้นรถโดยสารในเมืองวีตอเรีย เมืองหลวงของรัฐเอชปีรีตูซังตู ซึ่งอยู่ห่างจากนครรีโอเดจาเนโรไปทางเหนือราว 480 กิโลเมตร
ข่าวสุขภาพ ตอนที่เธออายุ 14 ปี เธอติดอยู่ในประตูหมุนของรถโดยสารอีกครั้ง และรู้สึกได้ว่าสายตาของผู้โดยสารคนอื่น ๆ บนรถกำลังจ้องมองเธอ เธอสัญญาว่า จะไม่ขึ้นขนส่งสาธารณะรูปแบบนี้อีกแล้ว “ฉันอ้วนมาตลอดชีวิต ฉันเลยชินกับการได้ยินคำพูดหยาบคายเกี่ยวกับน้ำหนักตัวของฉัน” เธอกล่าว ประสบการณ์ของโซซาไม่ใช่เรื่องแปลก ไม่นานนี้ ผู้หญิงชาวบราซิลอีกคนหนึ่งเพิ่งติดอยู่ที่ประตูหมุนบนรถโดยสารคันหนึ่งนานกว่า 4 ชั่วโมง สุดท้าย ต้องโทรเรียกเจ้าหน้าที่ดับเพลิงให้มาช่วยเหลือ มีผู้โดยสาร 2-3 คนพยายามที่จะช่วยเธอ แต่เธอเล่าว่าคนอื่น ๆ ได้โพสต์ภาพที่น่าอับอายของเธอทางโซเชียลมีเดียในระหว่างเรียนมหาวิทยาลัย โซซาต้องเจอกับเรื่องน่าขายหน้าคล้ายกันนี้ทางโซเชียลมีเดีย หลังจากเคยถูกล้อและกลั่นแกล้งที่โรงเรียนเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักตัวมาแล้ว “ฉันเคยเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้งของการเกลียดกลัวคนอ้วน (fatphobia) นักเรียนทุกคนสร้างกลุ่มวอตส์แอปป์ขึ้น และเอารูปที่ฉันเผยแพร่ทางเครือข่ายโซเชียลของฉันไปลงในกลุ่มนั้น และเริ่มล้อฉัน” นั่นคือช่วงเวลาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำหรับโซซา แทนที่จะถอยเข้าไปหลบอยู่ในกระดอง เธอตัดสินใจว่าจะไม่กลัวอีกต่อไป เธอร่วมกับ มาเรียนา โอลิเวรา เพื่อนที่เรียนจบด้านกฎหมายของเธอ ตั้งกลุ่มรณรงค์ขึ้นมาได้ใช้ชื่อว่า Gorda na lei ซึ่งเป็นภาษาโปรตุเกส มีความหมายว่า “คนอ้วนในกฎหมาย” โดยมีเป้าหมายในการให้คำแนะนำสิทธิทางกฎหมายแก่ผู้คนที่ถูกเลือกปฏิบัติจากน้ำหนักตัวของพวกเขาการยอมรับรูปร่างที่แตกต่าง ภาพจำของบราซิลตามที่รับรู้กันคือ มีรูปร่าง และผิวสีแทน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก็เหมือนกับประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศที่ประชากรมากกว่าครึ่งมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน โดยราว 1 ใน 4 ในทางการแพทย์ถือเป็นโรคอ้วนนักเคลื่อนไหวโต้แย้งว่า สังคมควรจะยอมรับเรื่องนี้ พวกเขาบอกว่า บราซิลเป็นหนึ่งในประเทศแถวหน้าของโลกที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงนโยบายเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนที่มีรูปร่างแตกต่างหลากหลาย
จากสถิติของทางการ มีคดีที่เกี่ยวกับโรคกลัวคนอ้วนในศาลแรงงานของบราซิลมากกว่า 1,400 คดี
ข่าวสุขภาพ โอลิเวรา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน อธิบายว่า แม้โรคกลัวคนอ้วนจะไม่ใช่อาชญากรรมโดยเฉพาะ แต่ก็สามารถใช้กฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันเอาผิดได้ เช่น การหมิ่นประมาท, การทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง และการคุกคามทางศีลธรรม เธอได้พูดถึงคดี ๆ หนึ่งที่นักธุรกิจคนหนึ่งใช้เรื่องน้ำหนักตัวเป็นเงื่อนไขในการจ่ายโบนัสให้แก่พนักงานที่น้ำหนักตัวลดลง “เขาถึงกับให้เธอขึ้นเครื่องชั่งให้ดู” โอลิเวรา กล่าวมาเรียนนา โอลิเวรา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน ได้ยินว่ามี คดีเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่อคนอ้วนหลายคดี ผู้พิพากษาตัดสินให้พนักงานเป็นฝ่ายชนะ และให้ได้รับเงินชดเชยที่ 10,000 เรอัลบราซิล (ประมาณ 66,400 บาท) เป็นหนึ่งในจำนวนเงินชดเชยที่สูงที่สุดซึ่งมีการจ่ายในบราซิลเกี่ยวกับคดีเกลียดกลัวคนอ้วน แต่ก็ยังถือเป็นเงินไม่มากนักเมื่อเทียบกับการตัดสินอีกหลายคดีของกระบวนการยุติธรรมในบราซิล หนึ่งในพื้นที่มีการแก้ไขนโยบายคือในเมืองเรซีฟี โดยสภาเมืองได้ผ่านร่างกฎหมายฉบับหนึ่งเมื่อปีที่แล้ว กำหนดให้โรงเรียนต่าง ๆ ต้องมีโต๊ะที่ใหญ่ขึ้น ซีดา เปโดรซา สมาชิกสภาหญิงของเมืองเรซีฟี เป็นผู้ขับเคลื่อนและเสนอกฎหมายนี้ เธอเล่าว่า เธอได้ยินเรื่องราวมากมายของคนที่ต้องอับอายขายหน้าเพราะตัวไม่พอดีกับโต๊ะที่โรงเรียน กฎหมายใหม่ที่เสนอโดยนางเปโดรซา ทำให้โรงเรียนทุกแห่งในเมืองเรซีฟี ต้องมีโต๊ะที่ใหญ่ขึ้น 1 ตัวในแต่ละห้องเรียนซีดา เปโดรซา สมาชิกสภาเมืองช่วยผลักดันการผ่านร่างกฎหมายที่กำหนดให้มีโต๊ะและเก้าอี้ที่ใหญ่ขึ้นสำหรับคนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป นางเปโดรซาไม่ยอมรับความเห็นที่ว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการไม่สนับสนุนให้ชาวบราซิลที่เป็นโรคอ้วนและน้ำหนักตัวมากเกินไปพยายามลดน้ำหนักของตัวเองลง “เราไม่ปฏิเสธว่า ในบางกรณี การเป็นโรคอ้วนอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ แต่เราต้องหยุดการมองว่า ร่างกายที่อ้วนเป็นความผิดปกติทางจิตใจ และคิดว่าการมีรูปร่างอ้วนเป็นอาการป่วย” ปัจจุบันในบราซิลไม่มีการรณรงค์ในระดับประเทศเพื่อส่งเสริมให้คนลดน้ำหนัก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะบุคลากรด้านสาธารณสุขไม่สามารถเห็นตรงกันได้เกี่ยวกับวิธีการสื่อสารที่จะไม่เป็นการสร้างตราบาปให้แก่คนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป แพทย์ชาวบราซิลหลายคนเชื่อว่า ควรจะมีการแจ้งคนไข้ที่น้ำหนักตัวมากเกินไปอย่างตรงไปตรงมาว่า พวกเขาจำเป็นต้องลดน้ำหนัก ลูเซีย คอร์เดรู ผู้เชี่ยวชาญที่รักษาคนไข้ที่เป็นโรคอ้วนหลายคนที่คลินิกในเมืองเรซีฟี เห็นด้วยว่า เงื่อนไขนี้อาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพหลายอย่างได้ “เรารู้ว่า ค่า BMI ที่สูงขึ้นทำให้มีอัตราการเสียชีวิตมากขึ้น หัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง” เธอกล่าว คอร์เดรูระบุว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (sleep apnoea) เป็น “ปัญหาใหญ่” เช่นเดียวกับเบาหวานและมะเร็ง แต่คอร์เดรูยืนกรานว่า จำเป็นต้องมีวิธีการที่คำนึงถึงความรู้สึกมากกว่านี้ “โรคอ้วนคือโรค เราต้องบอกสังคมให้พยายามใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดี แต่เราจำเป็นต้องระมัดระวังวิธีการส่งสาร เพื่อที่จะไม่กลายเป็นอคติ หรือการเกลียดกลัวคนอ้วน”
แนะนำข่าวสุขภาพ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : เตือน! มนุษย์เงินเดือนนั่งทำงานให้ถูกวิธี ลดความเสี่ยง ‘โรคกระดูกสันหลัง’